สารก่อมะเร็งในคน
- ศุภชนม์ เก้าบีสิบเอ็ด
- 24 พ.ค. 2566
- ยาว 1 นาที

เป็นที่ทราบกับดีอยู่แล้วว่า ปัจจุบัน คนเรามีโอกาสหรือความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งสูงขึ้น
.
ซึ่งโรคมะเร็งนั้น สาเหตุเกิดจากการกลายพันธุ์ในระดับยีน
โดย 5-10% นั้น เกิดจากพันธุกรรมของตัวเราตั้งแต่เกิดมา
.
ที่เหลือ ส่วนใหญ่เกิดจากการใช้ชีวิตของเราา ไม่ว่าจะเป็นจากการกินอาหารหรือสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ การติดเชื้อเรื้อรัง การได้รับรังสี หรือ สารเคมีบางอย่าง
.
โดย ข้อมูลจาก #องค์กรวิจัยมะเร็งนานาชาติ [1]
(International Agency for Research on Cancer :: IARC)
ได้ประเมินสารที่อาจจะเป็นสารก่อมะเร็งในมุนษย์ออกเป็น 3 กลุ่ม
(ข้อมูลจาก Volume 1-133)
กลุ่มที่ 1 - เป็น #สารก่อมะเร็งสำหรับมนุษย์ (126 ชนิด)
กลุ่มที่ 2A - อาจจะเป็นสารที่ก่อมะเร็งสำหรับมนุษย์ (94 ชนิด)
กลุ่มที่ 2B - มีความเป็นไปได้ว่าจะเป็นสารก่อมะเร็ง (322 ชนิด)
กลุ่มที่ 3 - ไม่จัดว่าเป็นสารก่อมะเร็งสำหรับมนุษย์ (500 ชนิด)
.
ซึ่งกลุ่มที่เราควรจะกังวล หรือ ระมัดระวังในการใช้ชีวิต ได้แก่ กลุ่มที่ 1
โดยสารก่อมะเร็ง ที่เราสามารถพบได้ในชีวิตประจำวัน
.
ข้อมูลจาก #สถาบันมะเร็งแห่งชาติ [2]
ได้ยกตัวอย่าง สารที่พบในชีวิตประจำวัน 12 ชนิด ที่เราอาจจะได้รับโดยไม่รู้ตัว ได้แก่
1 การสูบบุหรี่
2 การได้รับควันบุหรี่
3 การดื่มสุรา
4 การติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ
5 การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ
6 การติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV)
7 เนื้อสัตว์แปรรูป (Processed meat)
8 สารอะฟลาทอกซิน (Aflatoxins)
9 สารเบนโซ (เอ) ไพรีน
10 มลพิษทางอากาศภายนอกอาคาร
11 ฝุ่นไม้
12 รังสีอัลตราไวโอเลต (UV)
.
นอกจากนี้ ยาบางชนิดที่รับประทาน นาน ๆ ก็อาจจะทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งได้ เช่น
ไฮโดรคลอโรไธอะไซด์ (hydrochlorothiazide)
ซึ่งเป็นยาขับปัสสาวะ ใช้สำหรับรักษาโรคความดันโลหิตสูง สามารถทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้ ถ้าใช้ไปนาน ๆ
.
.
การใช้ชีวิต ในปัจจุบันนั้น เราสามารถหลีกเลี่ยงสารก่อมะเร็งต่าง ๆ ได้นะครับ ถ้าเทียบกับในอดีต ที่เราไม่รู้ว่าสารพวกนี้ก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ แต่ถึงเราจะหลีกเลี่ยงแล้ว ก็ยังมีสารใหม่ ๆ ที่จะก่อให้เกิดความเสี่ยงขึ้นมาเพิ่มอยู่เสมอ ๆ
.
ทางที่ดี เราควรตรวจสภาพร่างกายเราเป็นประจำเพื่อหลีกเลี่ยงให้ได้นะครับ เพราะเมื่อเราเป็นโรคมะเร็งแล้ว การรักษานั้น ไม่ได้ง่าย และบางครั้ง ร่างกายเราก็ไม่พร้อมสำหรับการรักษา ยังไม่รวมถึงค่าใช้จ่ายอันมากมายครับ
.
การรักษาที่ดีที่สุด มักจะมาพร้อมค่าใช้จ่ายที่มากมายเสมอ ถ้าไม่มีตัวช่วยแบ่งรับความเสี่ยงเช่น ประกันสุขภาพหรือประกันโรคร้ายแรง บางทีการรักษาอาจจะไม่ทันการก็ได้ครับ
.
.
PS.
สามารถดูข้อมูลของ สารที่มีผลต่อการก่อมะเร็งในมนุษย์ ว่าสารนี้ส่งผลให้เกิดมะเร็งบริเวณอวัยวะไหน ได้ที่
List of classifications by cancer sites with sufficient or limited evidence in humans, IARC Monographs Volumes 1–133
.
.
ข้อมูลจาก
[1] IARC Monographs on the identification of carcinogenic hazards to human, International Agency for Research on Cancer, World Health Organization
[2] สารก่อมะเร็งที่พบได้ในชีวิตประจำวัน, สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข