
เคยได้ยิน คนอื่นทักว่า “อ้วนขึ้นหรือเปล่า” กันไหมครับ
จริง ๆ แล้ว การที่เราจะรู้ว่า “อ้วน” หรือ อยู่ในเกณฑ์มาตราฐานหรือไม่ มีวิธิประเมินได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการวัดรอบเอวเทียบกับส่วนสูงหารสอง หรือวิธีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันได้แก่ การคำนวณค่าดัชนีมวลกาย Body Mass Index หรือที่บางคนอาจจะเคยได้ยินว่า BMI
ค่า BMI คืออะไร?
คือ อัตราส่วนระหว่าง น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หารด้วย [ส่วนสูง (เมตร) x ส่วนสูง (เมตร)]
ซึ่งค่าดัชนีมวลกายนั้นสำหรับเชื้อชาติต่าง ๆ มีเกณฑ์มาตราฐานแตกต่างกันเนื่องจากสรีระและโครงสร้างทางร่างกาย
สำหรับคนเอเชียนั้น ค่า BMI สามารถจำแนกได้เป็น 6 ระดับ ได้แก่
1 :: BMI < 18.5 :: ผอม 2 :: BMI 18.5-22.9 :: ปกติหรือมาตราฐาน
3 :: BMI 23.0-24.9 :: นำ้หนักเกิน
4 :: BMI 25.0-29.9 :: อ้วนระดับ 1
5 :: BMI 30.0-39.9 :: อ้วนระดับ 2
6 :: BMI > 40 :: อ้วนระดับ 3
ค่า BMI บ่งบอกอะไรบ้าง แน่นอนว่าค่าBMI เป็นค่าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำหนัก ทำให้เรารู้อัตราเสี่ยงในการจะเกิดโรคต่าง ๆ ได้ในระดับหนึ่ง
โรคที่มาจากนำ้หนักเกิน หรือ อ้วน ที่พบเจอบ่อย ๆ ได้แก่
ความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, หลอดเลือดหัวใจตีบ, หัวใจขาดเลือด, ไขมันในตับ, ไขมันในเลือดสูง (โคเลสเตอรอล, ไตรกลีเซอไรด์) และ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
ซึ่งโรคพวกนี้มักเป็นโรคเรื้อรัง ต้องรักษาตัวเป็นเวลานาน ทำให้ในการทำประกันชีวิตนั้น บริษัทประกันอาจจะปฏิเสธการรับประกันได้ ถ้าค่า BMI สูงเกิน แล้วค่า BMI ค่าเท่าไหร่ที่บริษัทประกันชีวิตนั้นยอมรับได้
โดยปกติในการตอบคำถามสุขภาพก่อนทำประกัน จะให้ใส่ค่าน้ำหนักและส่วนสูง ซึ่งเราสามารถคำนวณค่า BMI ได้คร่าว ๆ ก่อน
ยกตัวอย่างเช่น ของบริษัทประกันชีวิตแห่งหนึ่ง มีกำหนดกฎเกณฑ์ไว้คร่าว ๆ ว่า ถ้าค่า BMI น้อยกว่า 18 :: รับประกันแบบเพิ่มเบี้ยหรือปฏิเสธการรับประกัน
18-30 :: รับประกันแบบมาตราฐาน
31-35 :: รับประกันแบบเพิ่มเบี้ยสัญญาหลักและสัญญาสุขภาพ
มากกว่า 36 :: รับประกันแบบเพิ่มเบี้ย และไม่ขายสัญญาเพิ่มเติม จะเห็นได้ว่า ช่วงที่ยอมรับได้ของบริษัทประกันชีวิตแห่งนี้นั้น ค่า BMI ควรจะอยู่ในช่วง 18.5-29.9 ซึ่งครอบคลุมช่วง ปกติถึงอ้วนระดับ 1 **บางบริษัท ถ้าค่า BMI อยู่ในช่วงปกติหรือน้ำหนักเกิน (18.5-24.9) จะได้ลดค่าเบี้ยประกัน** ดังนั้นเราควรจะดูแลสุขภาพตัวเองให้อยู่ในเกณฑ์ซึ่งนอกจะป้องกันการเสี่ยงของการเกิดโรคแล้ว ยังจะทำให้ง่ายต่อการสมัครประกันชีวิต โดยไม่ต้องถูกเพิ่มเบี้ยหรือปฏิเสธ
ข้อมูลจาก
http://nutrition.anamai.moph.go.th/images/files/4พฤติกรรม.pdf
https://www.who.int/nutrition/publications/bmi_asia_strategies.pdf
https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1361